10/2/56


Community Language Learning – CLL

วิธีสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ (community language learning - CLL)

การสอนแบบนี้คิดขึ้นใน ปี 1970 โดย Charles A. Curran ศาตราจารย์สาขาจิตวิทยาแนะแนวแห่งมหาวิทยาลัยLoyola, Chicago Curran ประยุกต์แนวคิดนี้มาจากเทคนิคการแนะแนวครูจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา และพยายามที่จะคอยสนองความต้องการในการใช้ภาษาของผู้เรียนเหมือนกับผู้เรียนเป็นผู้มารับคำปรึกษา บรรยากาศในห้องเรียนจัดเหมือนกับชุมชน (community) เน้นให้ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระบวนการเรียนภาษาจะเปรียบเหมือนกับการเจริญเติบโตของมนุษย์เริ่มจากทารกที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จนกระทั่งถึงขึ้นที่เป็นอิสระหรือเป็นผู้ใหญ่การช่วยเหลือแต่ละขั้นของครูจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียน
            การสอนแบบนี้ส่วนมากจะไม่มีแผนการเรียนที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียน โดยปกติแล้วการเรียนการสอนครูจะให้ผู้เรียนพูดแสดงความรู้สึกเป็นภาษาของผู้เรียน แล้วครูจะแปลหรือตีความที่นักเรียนพูดให้ทั้งชั้นฟังบรรยากาศชั้นเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนภาษา และเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียน


หลักการสอนวิธีนี้มีดังนี้
o  การแปล (translation) ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม ผู้เรียนพูดข้อความที่ต้องการจะแสดงความคิดหรือความรู้สึก ผู้สอนแปล ข้อความนั้นผู้เรียนพูดตามผู้สอน
o  การทำงานกลุ่ม (group work) บางครั้งผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการกำหนดหัวข้อแล้วร่วมกันอภิปรายช่วยกันเตรียมบทสนทนา เตรียมเรื่องที่จะพูดหน้าชั้น เป็นต้น
o  การบันทึกเสียง (recording) นักเรียนจะบันทึกเสียงของคนในขณะที่พูดภาษาเป้าหมาย
o  ถอดความ (transcription) นักเรียนถอดคำพูดหรือบทสนทนาที่บันทึกไว้ สำหรับฝึกและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา
o  วิเคราะห์ (analysis) นักเรียนศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างภาษาความหมายของคำวลีประโยค ที่ถอดจากเทป
o  สะท้อนกลับ/ตั้งข้อสังเกต (reflection/observation) ผู้เรียนรายงานความรู้สึกและประสบการณ์และอื่น ๆ
o  การฟัง (listening) นักเรียนฟังครูอ่านบทสนทนา
o  สนทนาอย่างอิสระ (free conversation) นักเรียนสนทนากับครูกับเพื่อน อาจเป็นการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และอื่น ๆ


เทคนิคการสอน
·       บันทึกบทสนทนาของนักเรียน
·       ถอดความบทสนทนา
·       สะท้อนเนื้อหาและประสบการณ์
·       กระตุ้นให้เกิดการฟัง
·       ครูช่วยผู้เรียนโดยการย้ำบ่อยๆ
·       ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น